อย่างแรกเลยนะครับ ต้องเรียนรู้เรื่อง Instrumentation ก่อน กล่าวคือ เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องดนตรีแต่ละชนิด เช่น ไวโอลิน ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มี range เสียงยังไง มีวิธีการเล่นยังไง สามารถสร้างเสียงอะไรได้บ้าง บันทึกโน๊ตลงไปยังไง ฯลฯ จากนั้นก็ศึกษาพวกเทคนิคการประสมเครื่องดนตรีๆ ต่าง เริ่มจาก section เช่น strings, woodwinds, brass จนถึงวงใหญ่ และจะต้องเรียนรู้วิธีการจัดวาง musical materials, การจัดวาง voicing ของแต่ละเครื่อง ซึ่ง มีผลต่อ Structure และ Timbre ของงาน ฯลฯ ซึ่งมันซับซ้อนมากๆ หากศึกษาจริงๆ ใช้เวลาหลายปี
ลองดูหนังสือ Study of Orchestration ของ Samuel Adler นะครับ เล่มนี้ใช้กันทั่วโลก สำหรับวิชา Orchestration ในสถาบันศึกษาดนตรีชั้นนำ
อ่อ แล้วก็เวลาศึกษาเนี่ย ต้องพยายามฟังเพลง อ่านสกอร์ เยอะๆ แนะนำให้ลองศึกษา Evolution และ History ของ Orchestration ด้วย อาจเริ่มจากงานของ Mozart, Beethoven ไปจนถึง Brahms, Tchaikovsky, Debussy, Ravel เลยมาถึงยุคนี้อย่าง Schoenberg, Lachenmann, Grisey, Takemitsu เป็นต้น
วิธี Analysis ตรงนี้สำคัญมาก เพราะจะทำให้เรารู้ว่านักประพันธ์แต่ละคนคิดยังไง เพราะว่า ทฤษฎี มันเกิดจากผลงานทั้งนั้นแหละคับ ไม่มีที่ผลงานอิงมาจากทฤษฎี ส่วนตัวผมใช้วิธี copy score ออกมาเลย มันจะทำให้เราเข้ายิ่งขึ้น มากกว่าแค่ดูสกอร์ และเวลาฟังเสียงเนี่ย พยายามเข้าไปดูคอนเสิร์ตที่ออเครสต้าเล่นจริงๆ นะครับ เพราะว่า acoustic space เนี่ย มันจะต่างกับใน recording มากๆ ที่ออกมาจาก loud speakers
ยกตัวอย่างเช่น เพลง Prelude to the afternoon of a faun ของ Debussy ท่อนขึ้นที่เริ่มด้วย Flutes หากเราฟังใน recording มันจะชัดและดังมากเลย เหมือนมี role เป็น solo (แต่ role มันคืออย่างงั้นจริงๆ คนที่ mix ก็เลยต้องทำ) แต่คราวเนี้ย เวลาเราฟังในคอนเสิร์ตฮออล์จริงๆ เราจะไม่ได้ยินดังแบบนั้น เพราะว่า Flutes จะอยู่ลึกเข้าไปข้างใน แล้วเราจะสามารถรู้สึกถึง dimension ของเสียงได้
แล้วก็ที่แนะนำที่สุด คือ อย่าฝึกฟังจาก Sample ครับ พวก Midi Orchestra ทั้งหลาย เพราะการศึกษาโดยการฟังจากพวกนี้ ทำให้เราได้รับอะไรที่ผิดๆ มา เสียงที่ประสมออกมามันคลาดเคลื่อนมาก ถึงแม้ว่า ปัจจุบัน จะมีเทคโนโลยี ที่อนุโลม ให้เสียงสังเคราะห์ของเครื่องดนตรี ใกล้เคียงเสียงจริงๆ แล้วก็ตาม แต่ว่า ปัญหาเรื่อง Acoustic Space กับ Timbre (ที่โปรเจคแบบ Real Time) ก็ยังมีอยู่ และไม่มีทีท่าว่าจะวิจัยสำเร็จได้ในเวลาอันใกล้ ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีที่ล้ำเพียงใดก็ตาม
ปล. ที่เมืองไทย อาจจะหาฟังวงสดๆ ยากหน่อยนะครับ แต่ก็ลองดู TPO ที่มหิดลศาลายา, วง BSO ฯลฯ ก็จะน่าเป็นตัวอย่างการศึกษาให้ดี หาสกอร์อ่านเยอะ หาซีดีเพลงมาฟังประกอบก็น่าจะช่วยได้ แล้วก็ถามเยอะๆ ครับ ยิ่งพวก Conductor กะ นักดนตรี เนี่ย เค้าจะเข้าใจเรื่องพวกนี้พอควรเหมือนกัน